ยินดีต้องรับเข้าสู่ Blogger เรื่อง ไวรัสคอมพิวเตอร์ Cute Hello Kitty 3 Cute Hello Kitty 3

วิธีป้องกันไวรัส

      
        วิธีการป้องกันไวรัส
  •           ติดตั้งตัวโปรแกรมป้องกันไวรัส และ อัปเดตข้อมูลไวรัสอยู่เสมอ
    • ติดตั้งโปรแกรมไวรัสที่เหมาะสม
    • อัปเดตข้อมูลของโปรแกรมป้องกันไวรัสทุกวัน หรือทุกครั้งที่โปรแกรมแจ้งเตือนให้อัปเดต
    • ตรวจสอบหาไวรัสก่อนเปิดไฟล์จากแผ่น CD, แผ่น Disk และ Handy Drive เป็นต้น
    • ใช้โปรแกรมเพื่อทำการตรวจหาไวรัสบนเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 1 ครั้ง ต่อสัปดาห์
    • สร้างแผ่น Emergency disk เพื่อใช้ในการกู้ระบบ
  • ติดตั้งโปรแกรมอุดช่องโหว่ (patch) โดยการอัปเดตระบบปฏิบัติการ Windows ให้ใหม่อยู่เสมอ
  • ติดตั้งโปรแกรมอุดช่องโหว่ (patch) โดยการอัปเดตซอฟต์แวร์ และโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ให้ใหม่อยู่เสมอ เช่น โปรแกรม Internet Explorer และโปรแกรม Microsoft Office เป็นต้น
  • ปรับแต่งให้ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานปลอดภัยสูงสุด
    • ปรับ Security Zone ให้เป็น High Security

    • ปรับแต่งไม่ให้โปรแกรมที่ใช้อ่าน e-Mail รันไฟล์แนบ (Attechment) โดยอัตโนมัติ
    • ถ้าใช้ Microsoft Office ไม่ควรให้รันมาโคร (macro)
    • ปิด Service ของระบบปฏิบัติการที่ไม่จำเป็น เช่น DCOM  RPC เป็นต้น

    • ตั้งค่าของระบบปฏิบัติการให้แสดงไฟล์ที่มีอยู่ทั้งหมด และแสดงนามสกุลของไฟล์ด้วย โดยปรับค่าการทำงานที่ Folder Options ใน Tool ของ Windows Explorer



  • ระวังภัยจากการเปิดไฟล์จากสื่อบันทึกข้อมูล (Media) ต่างๆ
    • เช่น แผ่น Floppy Disk, แผ่น CD, แผ่น DVD และ Tape Backup เป็นต้น
    • สแกนไวรัสจากสื่อบันทึกข้อมูล ก่อนใช้งานทุกครั้ง
    • ไม่ควรเปิดไฟล์ที่มีนามสกุลแปลกๆ ที่น่าสงสัย เช่น .exe, .hta, .pif, .scr, .com, .bat, .cmd,  .vbs เป็นต้น รวมทั้งไฟล์นามสกุลซ้อนกัน เช่น .jpg.exe, .gif.scr, .txt.exe เป็นต้น ให้ลบไฟล์นั้นทิ้งทันที
    • ไม่ใช้สื่อบันทึกข้อมูล ที่ไม่ทราบแหล่งที่มา
  • ใช้ความระมัดระวังในการเปิดอ่าน e-Mail
    • อย่าเปิดไฟล์ที่แนบมากับ e-Mail จนกว่จะรู้ที่มา
    • อย่าเปิดอ่าน e-Mail ที่มี Subject ที่เป็นข้อความจูงใจ เช่น ภาพเด็ด, รหัสผ่าน เป็นต้น
    • ลบ e-Mail ที่ไม่ทราบแหล่งที่มาทิ้งทันที เพื่อตัดปัญหาทั้งปวง
    • อับเดตโปรแกรมที่ใช้อ่าน e-Mail เช่น Outlook Express, Microsoft Outlook  เป็นต้น
  • ตระหนักถึงความเสี่ยงของไฟล์ที่ดาวน์โหลด หรือได้รับจากทางอินเตอร์เน็ต
    • ไม่ควรเปิดไฟล์ที่แนบมากับโปรแกรมที่ใช้สนทนา เช่น ICQ, MSN, IRC เป็นต้น หรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ โดยเฉพาะไฟล์ที่รันได้ เช่น ไฟล์ที่มีนามสกุล .exe, .hta, .pif, .scr, .com, .bat, .cmd,  .vbs เป็นต้น โดยไม่ได้ตรวจสอบแหล่งที่มาก่อน
    • ไม่ควรเข้าเว็บไซต์ที่มากับ e-Mail หรือ โปรแกรมสนทนาต่างๆ  รวมทั้งโฆษณาชวนเชื่อ หรือหน้าเว็บไซต์ที่ปรากฏขึ้นมาโดยไม่ตั้งใจ
    • ไม่ดาวน์โหลดไฟล์ต่างๆ จากเว็บไซต์ที่ไม่มันใจ หรือไม่น่าเชื่อถือ
    • ติดตามข่าวสารข้อมูลการแจ้งเตือนไวรัส จากแหล่งข้อมูลด้านความปลอดภัยอยู่เสมอ
    • หลีกเลี่ยงการแชร์ไฟล์โดยไม่จำเป็น ถ้าต้องแชร์ไฟล์ ควรแชร์แบบอ่านอย่างเดียว และตั้งรหัสผ่านด้วย
    • หลีกเลี่ยงโปรแกรมประเภทที่ใช้แชร์ไฟล์แบบ Peer-to-Peer เช่น KaZaa เนื่องจากมีความปลอดภัยต่ำ
  • กำหนดนโยบายด้านการบริหารจัดการไวรัสคอมพิวเตอร์ขององค์กร
    • สำรองข้อมูลสำคัญไว้เสมอ
    • ควรจำกัดจำนวนผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง
    • ให้ทำการสแกน e-Mail เพื่อตรวจสอบหาไวรัส ก่อนส่งเข้าสู่ระบบ
    • ห้ามหรือควบคุมการรับ-ส่ง เอกสารที่ลงท้ายด้วย .exe, .hta, .pif, .scr, .com, .bat, .cmd,  .vbs ในองค์กร
    • ถ้าสงสัยว่าเครื่องติดไวรัส และไม่สามารถดำเนินการเองได้ ให้สอบถามเจ้าหน้าที่ดูแลระบบ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการโดยด่วน
    • ตรวจสอบการดาวน์โหลดไฟล์ และการนำโปรแกรมต่างๆ มาใช้ในองค์กร
    • จัดการอบรม และให้ความรู้เกี่ยวกับไวรัสแก่พนักงานในองค์กร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น